qa

Q : จดทะเบียนที่อเมริกาแล้วต้องจดทะเบียนที่ไทยอีกหรือเปล่า หรือจดทะเบียนที่ไทยพอมาถึงอเมริกาต้องจดอีกหรือเปล่า

A : ไม่ต้องค่ะ จดที่เดียว  แต่ว่าถ้าอยากให้มีผลทั้งสองประเทศ ต้องแจ้งดำเนินการตามขั้นตอนของแต่ละประเทศ แต่ละหน่วยงานที่เราต้องติดต่อในเรื่องต่างๆ

สำหรับวีซ่าแต่งงาน เราจะแจ้งข้อมูลการแต่งงานในประเทศไทยให้ประเทศอเมริกาทราบในขั้นตอนวีซ่าถาวรอยู่แล้ว เอกสารการแต่งงานของเราจะต้องถูกตรวจสอบ เราเข้ามาด้วยสถานะแต่งงานกับอเมริกัน ผ่านการตรวจสอบใบสมรสจากไทยและบันทึกข้อมูล  และประเทศอเมริกายอมรับให้ใช้สิทธิ์ทำวีซ่าถาวรคู่สมรสเข้าประเทศได้   เข้าไปอยู่ในอเมริกา สถานะเราก็คือ แต่งงานแล้ว หลักฐานคือทะเบียนสมรสจากไทยใช้ติดต่อหน่วยงานต่างๆ ที่อเมริกาได้เลย


บางคนที่จดทะเบียนที่ไทย หลังได้วีซ่าถาวรเช้าอเมริกาไปขอจดทะเบียนสมรสที่อเมริกาด้วย พอจนท.ทราบว่าจดทะเบียนสมรสมาจากไทยแล้วก็ไม่ดำเนินการให้ บอกว่าไม่ต้องจดทะเบียนสมรสใหม่ ถึงแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่ที่อเมริกา ได้สิทธิ์ตามที่พึงได้ปกติ ใบทะเบียนสมรสจากไทยสามารถใช้ยื่นที่หน่วยงานต่างๆ ที่อเมริกาได้เลย

ถ้าต้องการให้การจดทะเบียนสมรสที่อเมริกามีผลที่ไทยให้ยื่นคำร้องขอทำการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวที่สำนักงานอำเภอ

Q : ขั้นตอนแรก ส่งทะเบียนบ้าน บ้ตรประชาชนหรือไม่

A : ไม่ต้องค่ะ เตรียมไปวันสัมภาษณ์

Q : ต้องส่ง ทะเบียนสมรสที่มีคำบรรยายด้านหลังใช้นามสกุลอะไร และใบเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่

A : ไม่ต้องค่ะ หลักฐานการแต่งงาน ใช้ใบสำคัญสมรสที่มีลายดอกกุหลาบใบเดียว ก็พอ (แต่จะส่งมากกว่านี้ก็ได้ ) สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรส ในแบบฟอร์มสมัครวีซ่ากรอกนามสกุลใหม่ได้เลย ส่งสำเนาเอกสารใบสำคัญการสมรสลายดอกกุหลาบใบเดียวสามารถเป็นหลักฐานที่มาที่ ไปนามสกุลใหม่ได้ค่ะ

Q : ทำไมอ่านเจอบางคน ส่งทะเบียนบ้าน บ้ตรประชาชน ใบสำคัญสมรส ใบทะเบียนสมรส ใบเปลี่ยนนามสกุล ไปด้วย

A : บาง คนก็ส่งเพื่อความสบายใจว่าส่งไปหมดอุ่นใจดี อยากได้อะไรมีให้หมด แต่ถ้าดูตามคำแนะนำของแบบฟอร์มที่เราส่ง http://www.uscis.gov/sites/default/files/files/form/i-130instr.pdf การที่ส่งไปทั้งหมดนี้คือ ส่งเอกสารเกินจากเอกสาร requirement ที่จำเป็น
ถ้าเราส่งเฉพาะเอกสารที่จำเป็น ประหยัดค่าแปล ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงานเราในการเตรียมเอกสาร โอกาสเอกสารที่ส่งไปจะผิดพลาดก็มีน้อยลง เพราะจำนวนเอกสารที่ต้องถูกตรวจสอบน้อยแผ่น
แล้วแต่สะดวกและความสบายใจค่ะ แต่ขอให้่ส่งเอกสารที่จำเป็นให้ครบ

Q : สนใจทำ K3 เพราะ k3 เร็วกว่า CR1 ระยะเวลา ทำ K3 นานเท่าไหร่

A : ระยะเวลาทำ K3 จะเร็วกว่า CR1 ประมาณ 2 เดือน แต่ไม่มีใครมีโอกาสได้ทำ K3 มานานแล้ว เพราะฉะนั้นไม่มี Timeline K3 มาให้เป็นตัวอย่างมาตั้งแต่ปี 2011 แล้วค่ะ บางคนอาจบอกว่าทำ K3 โดยไม่รู้ว่าเคสตนเองไม่ใช่K3 ลองอ่านคำแนะนำในนี้ http://www.mygreencardus.com/k3-cr1

ถ้ามีคนแนะนำให้ทำ K3 ทำใจไว้ด้วยค่ะ ว่าอาจได้ทำ CR1 ซึ่งนานกว่า K3 หน่อย และหาข้อมูลCR1 เผื่อไว้ด้วย

Q : เอกสารที่ส่งNVC จำเป็นต้องส่งตัวจริงเท่านั้นหรือไม่

A : ไม่จำเป็นค่ะ ส่งเอกสารตัวจริง หรือ เอกสารสำเนารับรองที่ออกจากสถานที่ออกเอกสารนั้น มีจนท.เซ็นรับรอง (คำตอบในอดีต)
ปัจจุบัน เอกสารที่ส่ง NVC ส่งเป็นสำเนา ไม่ต้องส่งตัวจริงไป เอกสารตัวจริงเตรียมไปวันสัมภาษณ์ เอกสารสำเนาใช้สำเนาการถ่ายเอกสารธรรมดา เราไม่ต้องเซ็นรับรอง ตามประกาศการเปลี่ยนแปลง Sep2014   http://www.mygreencardus.com/uscis-documents

Q : ได้วันสัมภาษณ์ทางอีเมล์จะต้องสั่งพิมพ์เอกสารตัวนั้นไปด้วยหรือไม่

A : สั่งพิมพ์ออกมาค่ะ ถือไปวันสัมภาษณ์ด้วย

Q : ถ้าเราได้นัดสัมภาษณ์จากNVC แล้ว ไปดูในตารางนัดสัมภาษณ์webสถานทูต ไม่มีชื่อเราทำอย่างไร

A : ไปสัมภาษณ์ตามนัดของ NVC ได้เลยค่ะ พร้อมถือใบนัดจาก NVC ไปด้วย ไม่ต้องติดต่อะไร บางครั้งตารางนัดสัมภาษณ์ของสถานทูตไม่เป็นปัจจุบัน เราไปสัมภาษณ์แล้ว ในตารางสัมภาษณ์พึ่งมีชื่อเราขึ้นรอสัมภาษณ์หลังจากผ่านวันนัดไปแล้ว

Q : คำถามที่เจอบ่อยๆ วันสัมภาษณ์ : กังวลเรื่องภาษา

A : ถ้าเจอสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ พยายามตอบอังกฤษไปก่อน เพื่อแสดงว่าเราสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับแฟนได้บ้าง
แต่ถ้าคำถามไหนที่เราตอบอังกฤษไม่ได้จริงๆ บอกไปเลยว่าขอตอบไทย และตอบไทยไปอย่างมั่นใจ ดีกว่าอึกอักไม่ตอบคำถามเพราะไม่รู้จะตอบภาษาอังกฤษอย่างไร กรณี คู่สมรสเป็นคนไทย เราสามารถบอกจนท.ได้ว่าขอสัมภาษณ์ไทย เพราะปกติสื่อสารกับแฟนด้วยภาษาไทย จนท.เข้าใจและให้สัมภาษณ์ภาษาไทยได้ค่ะ

Q : วันสัมภาษณ์ อยากให้แฟน สามี เพื่อน เข้าไปด้วยได้หรือเปล่า

A : ตามระเบียบนี่ไม่ได้ค่ะ เข้าได้เฉพาะคนมีนัดสัมภาษณ์คนเดียวเท่านั้น ยกเว้นอายุต่ำกว่า 14 ปี ให้มีผู้ปกครองเข้าไปด้วยได้ (อาจอนุโลม มากกว่านั้น ต่ำกว่า 20 ปี )

Q : สำหรับคนที่ส่งเอกสารตัวจริงไปNVCก่อนที่จะทราบประกาศยกเลิกการส่งเอกสารตัว จริง อาจกังวลว่าจะได้เอกสารตัวจริงคืนจาก NVC หรือเปล่า

A : เราจะได้เอกสารตัวจริงของเราทั้งหมดที่ส่งไป NVC ในวันสัมภาษณ์ จนท.ยื่นให้คืน ณ ตอนที่เข้าไปทำการสัมภาษณ์
(เอกสาร ตัวจริงที่ได้คืน ในที่นี่คือเอกสารในส่วนของเรา ที่เราต้องเอาไปเก็บไว้ใช้กับเราต่อ เช่น ใบเกิด ใบสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ ไม่รวมถึงใบตำรวจตัวจริง ใบตำรวจตัวจริงจนท.จะเก็บไว้และใส่ซองส่งมาให้เราในวันที่เราได้วีซ่า เอาไว้ไปยื่นที่ตม. อเมริกา ผลการตรวจสุขภาพก็จะอยู่ในซองด้วย จนท.จะปิดผนึกซองนี้ ไม่ให้เราเปิดเพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูลในเอกสาร เพราะฉะนั้น 2อย่างนี้เราจะไม่ได้คืนมาวันสัมภาษณ์ )

Q :นัด 7.00น.ไปถึงสถานทูตกี่โมงดี

A : ไปถึงก่อน 7.00 นิดหน่อยก็ได้ค่ะ จะได้ไม่ต้องยื่นรอนาน เพราะไปถึงต้องรอด้านนอก ไม่มีที่นั่ง หรือจะไปเช้ามากๆกันพลาดก็แล้วแต่ความสะดวกของเรา
ไปถึงสถานทูต ก่อณ 7.00น. มากๆ จะต้องยื่นรอนาน ยังเข้าไปข้างในไม่ได้ จนกระทั่งประมาณ 7.00 น จะมีจนท.ออกมาจัดแถว เราไม่จำเป็นต้องรีบไปให้ได้คิวต้นๆ เพราะพอจนท.ออกมา จนท. จะเรียกวีซ่าถาวรไปตั้งแถวต่างหากอยู่แล้ว เราจะต่อแถวยาวๆที่เค้าต่อกันอยู่เป็นคนสุดท้ายก็ไม่เป็นไร หรือไม่ต่อแถวที่เค้าต่อกันอยู่ก็ได้ รอจนกว่าจนท.มาเรียกวีซ่าถาวรตั้งแถวเลยการ สัมภาษณ์ไม่ได้เรียงคิวว่าใครมาก่อนมาหลัง และเวลาสัมภาษณ์ ก็ไม่ใช่ 7.00 น. พอเข้าไปข้างในต้องรอนานพอสมควร รอไปเรื่อยๆจน 8.00 น. ผ่านไป เมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์จนท.จะเรียกชื่อไปสัมภาษณ์ทีละคน แล้วแต่จนท.เรียก ไม่เกี่ยวกับว่าเข้าไปยื่นเอกสารคนแรก หรือ ก่อนหลังเลย
เราจะได้ สัมภาษณ์สายๆหน่อย ไปจนถึงสายมาก หรือ ก่อนเที่ยง ทานอาหารเช้าไปด้วยนะคะ จะได้ไม่หิว นัดเจ็ดโมงเช้าแต่เราอาจได้สัมภาษณ์เป็นคนสุดท้ายก็ได้ถ้า ใครไปไม่ทันนัด พอไปถึงหน้าสถานทูต ข้างนอกไม่มีคนรออยู่เลยก็ไม่ต้องตกใจ แสดงว่าคนอื่นๆ เข้าไปนั่งรอข้างนหมดแล้ว ขอเข้าไปข้างในเลย ไปยื่นเอกสารรอเรียกสัมภาษณ์ตามปกติที่ไม่ได้เรียงคิวก่อนหลังตามเวลาไปถึง

ถ้า เข้าไปข้างในช้ากว่าคนอื่น พอเข้าไปด้านใน ถึงบริเวณห้องสัมภาษณ์ที่มีคนนั่งรอสัมภาษณ์ และไม่เห็นมี จนท.อยู่ที่ เคาเตอร์ มองหาโทรศัพท์ข้างๆ แถวนั้น โทรไปแจ้งหาจนท.ด้านใน จนท.จะออกมารับเอกสารค่ะ ยื่นเอกสารเสร็จหาที่นั่งรอ เรียกสัมภาษณ์

Q : มีหนี้สิน จะมีปัญหาต่อการพิจารณาหรือไม่

A : ไม่มีผลค่ะ ในขั้นตอนวีซ่าถาวร ตรวจสอบรายได้ sponsor จาก Tax return และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องชี้แจงมีหนี้สินที่ไหนเท่าไหร่อย่างไรค่ะ หนี้สินไม่มีผลต่อการพิจารณาวีซ่า ถ้ารายได้ รวมผ่านเกณฑ์ก็คือผ่านในเรื่องรายได้ เรื่องหนี้สินเราบริหารจัดการเองไม่เกี่ยวกับขั้นตอนวีซ่า

Q : เราไม่ได้ทำงาน การศึกษาน้อยมีผลต่อวีซ่าถาวรหรือไม่ ต้องกรอกข้อมูลเรื่องนี้ในขั้นตอน NVC จะมีผลอะไรหรือไม่

A : ไม่มีผลต่อการพิจารณาวีซ่าค่ะ ไม่ทำงาน การศึกษาน้อย มีสิทธิ์ได้วีซ่าถาวร เช่นเดียวกับคนทำงาน มีรายได้ มีการศึกษสูง ข้อมูลที่ถามในขั้นตอนNVC เป็นการสอบถามข้อมูลทั่วไป ไม่มีผลต่อการพิจารณาวีซ่า หากคุณสมบัติที่เราสมัครวีซ่าถาวรครบ และ sponsor แสดงหลักฐานการเงินผ่านเกณฑ์ เราก็มีสิทธิ์ได้วีซ่าเช่นคนอื่นๆ

 

qamy