BUYHOUSE23

หาข้อมูลเรื่องบ้าน ได้ข้อมูลว่า สิ่งที่จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยการกู้เงินซื้อบ้านคือ เครดิตสกอร์ เลยมาหาข้อมูลเรื่องเครดิตสกอร์   ได้ศัพท์อีกหนึ่งคำ คือ คำว่า ไฟโก้สกอร์ FICO Score  เคยได้ยินมาจากดูวีดีโอคุณ Suze Orman ตั้งแต่มาอยู่ใหม่ๆ แต่ตอนนั้นไม่สนใจ แต่คุ้นๆ ว่า FICO Score มีผลต่อเรื่อง financial มาก  ทำไมคุณ Suze ไม่ใช้คำว่า Credit Score  เลยหาข้อมูลว่า FICO Score แตกต่างจาก Cradit Score อย่างไร

FICO Score แตกต่างจาก Credit Score อย่างไร
สองคำนี้ คือ การให้คะแนนเครดิตเรา โดยดูจากประวัติการใช้จ่ายของเรา จากการรายงานการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต การไปทำสัญญาซื้อขายต่างๆ ประวัติการเป็นหนี้ การจ่ายหนี้ เอามาคิดคะแนน เป็น credit score

credit sore ที่เราตรวจสอบทั่วๆไป ออนไลน์ อาจมาจาก บริษัทใด บริษัทหนึ่ง จัดตั้งขึ้นมา ให้คะแนนเครดิตเรา จาก ข้อมูลในฐานข้อมูล โดยใช้โปรแกรมมาสรุปข้อมูล วิเคราะห๋ข้อมูล ออกมาเป็นตัวเลข

แต่ โปรแกรมที่สถาบันการเงินให้ความเชื่อถือ ที่loaner ต่างๆ เอามาดูเพื่อพิจรณาในการอนุมัติ loan เรา คือ ตัวเลขที่ผ่านการคำนวณจากโปรแกรมที่มีชื่อว่า FICO โปรแกรมนี้ ดำเนินการโดยบริษัท หรือองค์กรที่ชื่อ Fair Isaac and Company เลยเป็นที่มาของคำว่า FICO Score 

เมื่อเราใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือ ทำสัญญาเป็นหนี้ ข้อมูลเราจะถูกรายงานไปที่องค์กรเครดิตรวม Credit Bureau   หลังจากนั้น FICO Score เอาข้อมูลนี้มาคำนวณออกมาเป็นตัวเลขให้คะแนนเครดิตเรา

สรุป คิดง่ายๆว่า  FICO Score ก็คือ Credit Score นั่นแหละ  แต่ Credit score ทั่วๆไป อาจไม่ใช่ FICO Score ที่แท้จริง  คะแนนเครดิตที่แท้จริง ควรมาจาก โปรแกรม FICO Score จึงจะน่าเชื่อถือสำหรับ loaner

แต่ ทั้งสองอย่างนี้ ก็มาจากประวัติการใช้จ่ายการเงินของเรา  เพราะฉะนั้น รู้แค่ Credit Score ธรรมดา ก็พอจะรู้ FICO Score ของเราได้ แค่ตัวเลขอาจไม่เป๊ะ อาจคลาดเคลื่อนนิดหน่อย

ตัวเลข ของ FICO Score จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่เราจะได้ ในการอนุมัติเงินกู้  ถ้า score ดี หมายถึงประวัติการเป็นลูกหนี้ของเราดี ความเสี่ยงต่อ loaner น้อย  โอกาสที่loaner จะปล่อยอนุมัติเงินกู้เราก็มากกว่าคนscoreไม่ดี  ถ้าscore ไม่ดี loaner อาจให้เงินกู้เราแต่มีข้อแม้ อัตราดอกเบี้ยสูง เพราะตัวloaner เองก็มีความเสี่ยงที่มาปล่อยเงินกู้ให้เรา  ถ้าเรายอมรับกับดอกเบี้ยที่สูงได้ loanerก็พิจารณาเรื่องเงินกู้

FICO Score ดำเนินการโดยบริษัทย่อย 3 บริษัท  (มีรายชื่อในลิงค์ด้านล่าง หากใครต้องการหาข้อมูลเพิ่ม )  เวลาเราไปขอ กู้เงิน ทาง loanerจะตรวจสอบ FICO Score จาก 3 บริษัทนี้  สรุปผลมา เปรียบเทียบกัน มีตัวเลข จาก 3 บริษัท เอามาพิจารณาว่าจะให้อัตราดอกเบี้ยเราเท่าไหร่ ตามนโยบายของแต่ละ สถาบันการเงินหรือ loaner ที่เราจะไปกู้เงินl

ก่อนไปคุยกับ loaner เราควรหาข้อมูลไว้ก่อนเองบ้างว่า เครดิตสกอร์ขนาดเราถ้าจะกู้เงินซื้อบ้านน่าจะได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณเท่าไหร่  หลังจากเราหาข้อมูลเองคร่าวๆไปติดต่อ loaner ถ้า loaner ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่เราลองคำนวณมาอย่าพึ่งตัดสินใจค่ะ กลับบ้านมาตั้งหลัก มาลองตระเวณหาใหม่ ในข้อมูลที่อ่านมา ใช้คำว่า shopping around for a loan คือ จะเป็นหนี้ทั้งที หาซื้อหนี้อันที่ดีที่สุดค่ะ

ถ้าไปติดต่อแล้ว loaner เสนออัตราดอกเบี้ย ต่ำกว่าที่เราคำนวณว่าเราน่าจะได้  ดีใจด้วยค่ะ แสดงว่าเจอ loaner เสนอดอกเบี้ยเงินกู้ที่ดีสำหรับเรา   ตัวเลขFICO Score ที่รายงาน จะอยู่ในช่วง 300- 850 ตัวเลขมากจะได้อัตราดอกเบี้ยถูกลง

ถ้า เครดิตสกอร์เราน้อยมาก แสดงว่าเราบริหารการเงินได้ไม่ดี การเงินยังมีปัญหา หมุนเงินได้ไม่พอดีกับรายจ่าย ยังไม่ควรรีบร้อนเป็นหนี้ระยะยาว เพราะ หมายถึงเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงมากไปนานมาก
ควรรอให้เครดิตสกอร์ดีขึ้นก่อนแล้วค่อยพิจารณาเรื่องการเป็นหนี้ระยะยาว หรือการซื้อบ้าน  เราจะได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ดีขึ้น และเครดิตสกอร์ดีขึ้นหมายถึงเราบริหารเงินได้ดีขึ้นด้วย  ถ้ายังไม่พร้อมก็ค่อยๆ สร้างเครดิตไปก่อน

http://www.myfico.com/crediteducation/creditscores.aspx

แต่การที่คะแนนเครดิตดี แค่นี้ยังไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่า เราน่าจะซื้อบ้านแล้วนะ มีปัจจัยอย่างอื่นที่ต้องพิจาณาอีกเยอะ ต้องหาข้อมูลมาร่วมพิจารณาอีกหลายเรื่อง

Are you ready to buy a house?

ตอบคำถามเหล่านี้เพื่อช่วยตัดสินใจว่าพร้อมแล้วหรือไม่

● สภาพทางการเงินเป็นอย่างไร
งานมั่นคง รายได้มั่นคง ตั้งงบประมาณ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ภาษีบ้าน ประกัน ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้ คำนวณเผื่อว่าอนาคตจะแพงขึ้นด้วย

● สามารถจ่ายเงินขั้นตอนแรกทั้งหมดได้หรือไม่
เงินดาวน์ควรเริ่มต้นที่ 20% เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายค่าประกันเงินกู้ (PMI) ดาวเยอะก็จะจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง
ค่า Home inspection , Tax , ประกัน
ค่าธรรมเนียม Loan จุกจิกจิปาถะที่ต้องจ่ายวันทำสัญญาเรียก Closing cost

● จัดการการเงินของตัวเองหรือยัง
จ่ายหนี้บัตรเครดิตตามเวลาหรือไม่ เครดิตสกอร์ดีหรือยัง ถ้ายังจัดการเครดิตสกอร์ให้ดีขึ้นก่อน เพราะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะได้

● ค่าใช้จ่ายในอนาคตมีอะไรบ้าง
อนาคตจะมีลูก จะซื้อรถ หรือมีโครงการอะไรหรือไม่
ซื้อบ้านแล้วทำให้เดือดร้อนกระเป๋าตังค์ตัวเองหรือเปล่า โอกาสได้ไปเที่ยวไปพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวอาจลดลงถ้ามีรายจ่ายค่าบ้าน

● มีเงินสำรองเก็บไว้หากฉุกเฉินจำเป็นหรือเปล่า
นอกจากเก็บเงินดาวน์บ้านแล้ว มีเงินสำรองเผื่อไว้ฉุกเฉินเรื่องอื่นๆด้วยหรือเปล่า เช่น ไม่สบายต้องรักษา ประกันสุขภาพที่นี่ไม่ค่อยมีแบบครอบคลุมค่ารักษา 100% เข้านอนโรงพยาบาลหนึ่งครั้ง อาจกลับบ้านมาพร้อมกับหนี้ค่ารักษาพยาบาลก้อนโต ในส่วน 20% ที่ต้องจ่าย ต้องผ่อนชำระไปอีกนาน ในคนที่ไม่มีประกันสุขภาพเลยยิ่งจ่ายหนักหาก

ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ที่ทำงานให้ layoff เดือน 2 เดือน จะบริหารการเงินตัวเองไปต่อโดยไม่มีปัญหา  บ้านก็ต้องผ่อนต่อไป ได้หรือไม่

● ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อให้เข้ากับสิ่งที่เราต้องการได้หรือเปล่า
บางทีการมีบ้านมันก็ยากนะถ้าอยากมี แบ่งให้เช่าด้วยดีไม๊จะได้มีรายได้เพิ่ม ทำใจได้ไม๊ที่จะมีคนอื่นมาอยู่ร่วมด้วย เพื่อให้เรามีโอกาสได้บ้านอย่างที่เราต้องการ

● วางแผนที่จะย้ายใน 5ปี หรือเปล่า
ถ้ามีโครงการย้ายในปี สองปี อย่าพึ่งซื้อเลย เค้าว่ากันว่าระยะเวลาประมาณ 5ปี ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นจากที่เราซื้อ( ตัวแทนเล่าบอกต่ออีกที )  ถ้าเศรษฐกิจไม่ผันแปรเปลี่ยนนะ   หรือถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ราคาบ้านไม่ขึ้น แต่ระยะเวลา5ปี ก็เป็นระยะเวลาที่พอจะคุ้ม หากจำเป็นต้องขายหรือย้ายไปที่ย้ายอื่น ถ้าขายเร็วถึงแม้ได้ราคามากกว่าตอนซื้อบ้าง แต่หักค่านายหน้า (ประมาณ6%) แล้วอาจขาดทุนเพราะเราต้องเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารด้วย ตัวเลขที่ขายบ้านได้มากกว่าราคาซื้อแต่อย่างเดียวใช่จะหมายความว่าขายบ้านได้กำไร

● เป็นคนที่มีความสุข ชอบที่จะปรับปรุงบ้าน หรือทำให้บ้านน่าอยู่ขึ้นหรือเปล่า
ถ้าไม่ใช่ ไม่ชอบที่จะดูแลทำอะไรเลย ชอบแบบสบายๆ เข้าบ้านนอนหลับอย่างเดียว อย่าซื้อบ้านมาให้ยากเราดีกว่านะ อยู่อพาตเม้นท์ /เช่าบ้านอยู่สบายๆดีกว่า

(ค่านายหน้าในข้อมูลนี้เป็นยกตัวอย่างโดยประมาณจากรัฐที่ผู้เขียนอยู่ค่ะ )

บางคนอาจบริหารปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ไม่สมบูรณ์ทุกอย่างแต่ก็มีบ้าน มีความสุขในบ้านได้ แล้วแต่การจัดสรรตัวเองของแต่ละคน ทั้งในเรื่องการจัดสรรเงินทองและความสุข บางคนพร้อมทุกอย่างแต่พอซื้อไปกลับมีปัญหา หาความสุขในบ้านไม่ได้ บางปัญหาเกิดจากตัวบุคคลเอง อย่าไปโทษบ้านอย่างเดียวเลย ไม่ได้ซื้อบ้านบางทีก็มีปัญหาได้  เอาแนวทางมาฝากเผื่อสำหรับคนที่สนใจอยากซื้อบ้าน  ไหนๆก็อ่านมาแล้วเลยเอามาบอกต่อค่ะ  ถ้าหากคิดว่าเราบริหารจัดการวางแผนเตรียมไว้ไม่ได้ตามนี้แต่มั่นใจจะซื้อ คิดว่าอนาคตบริหารชีวิตได้ก็ทำไปสะดวกของแต่ละคน เ ชื่อว่ามีคนหลายๆคนในอเมริกาที่ทำไม่ได้ตามนี้หมดก็มีบ้านได้ และมีชีวิตผ่านไปได้

คำแนะนำที่เอามาบอกต่อนี้ได้มาจากที่อ่านหาข้อมูลมา เอามาบอกต่อเพื่อเอาไปร่วมพิจารณาก่อนตัดสินใจ ใครที่อยากได้ความมั่นใจ100%ก็รอไปก่อน รอให้มั่นคง ตอบว่าพร้อมทุกอย่างทุกเรื่องแล้วก่อนค่อยคิดซื้อ แต่จะไม่ซื้อเลยดีกว่าก็ตามนั้น      ใครคิดว่าพอลุ้นไหว จะซื้อเลยก็ตามนั้นเช่นกัน
ถ้าพร้อมจะซื้อ ซื้อตอนนี้ก็น่าจะดีกว่าไปซื้อตอนอายุเข้าวัยชรา ถ้าซื้อตอนนั้น อยู่ไม่ถึง5ปี อาจไปสบายแล้ว จะขายได้กำไรตอนไหนเนี่ยะ เอาติดตัวไปก็ไม่ได้

ขอบคุณทุกข้อมูลที่มีแนะนำไว้ในที่ต่างๆค่ะ

ที่มาข้อมูล

http://www.realtor.com/home-finance/real-estate/first-time-home-buyers/deciding-whether-you-are-ready-to-buy-a-house.aspx

กลับไปอ่านประสบการณ์ เตรียมตัวซื้อบ้านในอเมริกา 1 : ตรวจสอบเครดิตสกอร์ http://www.mygreencardus.com/are-you-ready-to-buy-a-house-1/

วีดีโอ คุณ Suze Orman เรื่อง FICO score อธิบาย เรื่อง FICO Score อธิบายด้วยสำเนียงภาษาอังกฤษพูดออกเสียงแต่ละคำชัดเจน ฟังง่าย  ฟังฝึกภาษาอังกฤษไปด้วยค่ะ